Trusted Media Summit
ภาพการสื่อสารหลัก (Key Visual) ของงานประชุมได้รับการรีแบรนด์ในปี 2022 โดยเป็นส่วนหนึ่งของการสะท้อนให้เห็นถึงพัฒนาการของงานประชุมนับตั้งแต่การจัดขึ้นครั้งแรกในปี 2018 ในตอนที่งาน Trusted Media Summit ประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกเปิดตัวขึ้นเป็นครั้งแรกในปี 2018 แนวคิดในการรับมือกับการให้ข้อมูลที่ไม่ถูกต้องนั้นค่อนข้างใหม่สำหรับภูมิภาคนี้ และโดยมากจะมุ่งเน้นไปที่การตรวจสอบข้อเท็จจริงเป็นหลัก
จากการเติบโตของกระแสข่าวสารและกระบวนการเพื่อการรู้เท่าทันสารสนเทศ รวมถึงจำนวนอินฟลูเอนเซอร์และ AI ที่เพิ่มมากขึ้น ภาพการสื่อสารหลักเดิมที่เราเห็นซึ่งแสดงถึงกลุ่มคนที่ทำงานร่วมกันในการตรวจสอบข้อเท็จจริงนั้นยังไม่เพียงพอที่จะทำให้เห็นภาพรวมของความท้าทายที่อุตสาหกรรมข่าวกำลังเผชิญอยู่
ภาพการสื่อสารหลักเดิมที่ใช้ในปี 2018–2021
ไฮไลต์ของบรรยากาศในปัจจุบัน ได้แก่ การสูญเสียความเชื่อถือในข่าวสาร การตรวจสอบข้อเท็จจริงในพื้นที่แห่งเสียงสะท้อนที่ผู้คนได้ยินหรืออ่านแต่ความคิดเห็นแบบเดียวกัน (Echo Chamber) ตลอดจนการแย่งกันส่งเสียงอย่างสับสนวุ่นวายในโซเชียลมีเดีย แนวคิดของเราคือความต้องการแสดงให้เห็นว่าผู้ที่ทำงานด้านข่าวสารต้องรับมือกับปัจจัยเชิงลบทั้งหมดอย่างไร ในขณะที่มุ่งมั่นจะนำเสนอความจริงและแสวงหาดาวเหนือของตนเพื่อเป็นหลักในการนำทาง
ภาพเวอร์ชันแรกแสดงให้เห็นความไร้ระบบระเบียบของไอคอนต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับสื่อ เพื่อบ่งบอกถึงปริมาณข้อมูลจำนวนมหาศาลบนอินเทอร์เน็ตในแพลตฟอร์มต่างๆ ที่มีอยู่มากมาย จะเห็นว่ามีผู้ทำงานด้านข่าวสารที่กำลังเดินผ่านสิ่งเร้าต่างๆ บนเส้นทางสายนี้ที่จะนำพาไปสู่ดาวเหนือ ในภาพจะใช้สีไม่มากและมีมาสคอตจากแคมเปญ Youth Verification Challenge รวมอยู่ด้วย
ต่อมาในภาพจำลองที่สองจะมีการใช้สีเทาและสีดำมากขึ้นเพื่อเป็นการเพิ่มคอนทราสต์ให้ภาพโดดเด่นยิ่งขึ้น
จนกระทั่งในภาพการสื่อสารหลักสุดท้ายจะมีสีสันที่สดใสมากขึ้นบนเส้นขอบฟ้าพร้อมกับไอคอนต่างๆ ที่สร้างบรรยากาศที่มีชีวิตชีวาและถ่ายทอดมุมมองที่มีความหวังและเป็นไปในทางที่ดีมากขึ้นสำหรับผู้ทำงานด้านข่าวสารที่กำลังแสวงหาดาวเหนือนำทางของตน
Youth Verification Challenge
เพื่อสร้างสัญลักษณ์แทนผู้บริโภคข่าวสารในลักษณะต่างๆ ที่มักพบเห็นในชีวิตประจำวัน เราจึงสร้างตัวละครที่แตกต่างกันขึ้นมา 4 แบบ โดยตัวละครเหล่านี้เป็นตัวอย่างของอคติทางความคิดและความเข้าใจที่ผิด ซึ่งเกิดขึ้นกับหลายคนเมื่อต้องประมวลผลข้อมูล
ไร้เดียงสา (ตัวสีเหลือง): ไม่ตั้งคำถามกับข้อมูลที่เห็น เชื่อในข้อมูลที่ได้รับโดยทันที
ดื้อดึง (ตัวสีฟ้า): คิดว่าตนเองถูกต้องเสมอ ปฏิเสธที่จะเปลี่ยนจุดยืนเมื่อเห็นข้อมูลที่ตรงกันข้ามแม้ว่าตนจะเป็นฝ่ายผิดก็ตาม
ขี้กังวล (ตัวสีเขียว): อ่อนไหวและสับสนได้ง่ายเมื่อได้รับข้อมูลมาอย่างท่วมท้น มีความระแวดระวังมากเกินจนไม่สามารถปฏิเสธข้อมูลใดๆ แม้ว่าจะเห็นได้ชัดว่าข้อมูลนั้นไม่เป็นความจริงก็ตาม
ตื่นตระหนก (ตัวสีแดง): ปลุกเร้าได้ง่ายและเป็นซูเปอร์สเปรดเดอร์ที่แพร่กระจายข้อมูลที่ไม่ถูกต้อง เป็นคนที่ชอบแสดงความคิดเห็น และชอบข่าวซุบซิบนินทา ข่าวที่มีสีสัน รวมถึงหัวข้อข่าวที่เป็นคลิกเบต
อย่างไรก็ตาม เมื่อมีการนำแนวคิดและเทคนิคในการตรวจสอบข้อเท็จจริงมาแนะนำให้รู้จัก ตัวละครเหล่านี้ได้กลายมาเป็น "เพื่อนผู้ตรวจสอบข้อเท็จจริง" และเปลี่ยนตนเองเป็นผู้รู้แจ้ง ตอนนี้ตัวละครแต่ละตัวจะสวมหมวกความคิด และมีรูปลักษณ์โปร่งใสที่มีประกายแสงเรืองๆ ส่องออกจากร่างกาย บ่งบอกถึงสถานะที่รู้แจ้งของตน และยังมีแกดเจ็ตต่างๆ สำหรับช่วยในการตรวจสอบข้อเท็จจริงติดตั้งอยู่อีกด้วย
เวอร์ชันแรกของตัวละครเป็นสีทึบอย่างเดียว และจะมีแขนปรากฏขึ้นมาเมื่อต้องมีการโต้ตอบกับสิ่งที่
ต่อมาเราได้เพิ่มการเปลี่ยนแปลง "หลัง" โดยรวมถึงการใส่หมวกความคิดและแกดเจ็ตเข้ามา อยู่แวดล้อม
ภาพร่างท่าทางต่างๆ ของตัวละครแต่ละตัว
เหล่าเพื่อนผู้ตรวจสอบข้อเท็จจริงเวอร์ชันสุดท้ายของเรามีแสงที่ส่องประกายออกมาจากร่างกาย และยังมีท่าทางต่างๆ ที่มีทั้งตัวละคร "ก่อน" และ "หลัง" ในภาพเดียว