;letter-spacing:normal;line-height:normal;margin:0;text-decoration:none}ol.font_100 li,ul.font_100 li{margin-bottom:12px}ol.wix-list-text-align,ul.wix-list-text-align{list-style-position:inside}ol.wix-list-text-align h1,ol.wix-list-text-align h2,ol.wix-list-text-align h3,ol.wix-list-text-align h4,ol.wix-list-text-align h5,ol.wix-list-text-align h6,ol.wix-list-text-align p,ul.wix-list-text-align h1,ul.wix-list-text-align h2,ul.wix-list-text-align h3,ul.wix-list-text-align h4,ul.wix-list-text-align h5,ul.wix-list-text-align h6,ul.wix-list-text-align p{display:inline}.ONIxfn{cursor:pointer}.WUKwEB{clip:rect(0 0 0 0);border:0;height:1px;margin:-1px;overflow:hidden;padding:0;position:absolute;width:1px}.QxJLC3 [data-attr-richtext-marker=true]{display:block}.QxJLC3 [data-attr-richtext-marker=true] table{border-collapse:collapse;margin:15px 0;width:100%}.QxJLC3 [data-attr-richtext-marker=true] table td{padding:12px;position:relative}.QxJLC3 [data-attr-richtext-marker=true] table td:after{border-bottom:1px solid currentColor;border-left:1px solid currentColor;bottom:0;content:"";left:0;opacity:.2;position:absolute;right:0;top:0}.QxJLC3 [data-attr-richtext-marker=true] table tr td:last-child:after{border-right:1px solid currentColor}.QxJLC3 [data-attr-richtext-marker=true] table tr:first-child td:after{border-top:1px solid currentColor}@supports(-webkit-appearance:none) and (stroke-color:transparent){.lq2cno>*>:first-child{vertical-align:top}}@supports(-webkit-touch-callout:none){.lq2cno>*>:first-child{vertical-align:top}}.agLt0N :is(p,h1,h2,h3,h4,h5,h6,ul,ol,span[data-attr-richtext-marker],blockquote) [class$=rich-text__text],.agLt0N :is(p,h1,h2,h3,h4,h5,h6,ul,ol,span[data-attr-richtext-marker],blockquote)[class$=rich-text__text]{color:var(--corvid-color,currentColor)}.agLt0N :is(p,h1,h2,h3,h4,h5,h6,ul,ol,span[data-attr-richtext-marker],blockquote) span[style*=color]{color:var(--corvid-color,currentColor)!important}.uGVkMG{direction:var(--text-direction);min-height:var(--min-height);min-width:var(--min-width)}.uGVkMG .edKzOf{word-wrap:break-word;height:100%;overflow-wrap:break-word;position:relative;width:100%}.uGVkMG .edKzOf ul{list-style:disc inside}.uGVkMG .edKzOf li{margin-bottom:12px}.SxM0TO blockquote,.SxM0TO h1,.SxM0TO h2,.SxM0TO h3,.SxM0TO h4,.SxM0TO h5,.SxM0TO h6,.SxM0TO p{letter-spacing:normal;line-height:normal}.nJYhU3{min-height:var(--min-height);min-width:var(--min-width)}.nJYhU3 .edKzOf{word-wrap:break-word;height:100%;overflow-wrap:break-word;position:relative;width:100%}.nJYhU3 .edKzOf ol,.nJYhU3 .edKzOf ul{letter-spacing:normal;line-height:normal;margin-inline-start:.5em;padding-inline-start:1.3em}.nJYhU3 .edKzOf ul{list-style-type:disc}.nJYhU3 .edKzOf ol{list-style-type:decimal}.nJYhU3 .edKzOf ol ul,.nJYhU3 .edKzOf ul ul{line-height:normal;list-style-type:circle}.nJYhU3 .edKzOf ol ol ul,.nJYhU3 .edKzOf ol ul ul,.nJYhU3 .edKzOf ul ol ul,.nJYhU3 .edKzOf ul ul ul{line-height:normal;list-style-type:square}.nJYhU3 .edKzOf li{font-style:inherit;font-weight:inherit;letter-spacing:normal;line-height:inherit}.nJYhU3 .edKzOf h1,.nJYhU3 .edKzOf h2,.nJYhU3 .edKzOf h3,.nJYhU3 .edKzOf h4,.nJYhU3 .edKzOf h5,.nJYhU3 .edKzOf h6,.nJYhU3 .edKzOf p{letter-spacing:normal;line-height:normal;margin-block:0;margin:0}.nJYhU3 .edKzOf a{color:inherit}.SxM0TO,.c9GqVL{word-wrap:break-word;direction:var(--text-direction);min-height:var(--min-height);min-width:var(--min-width);mix-blend-mode:var(--blendMode,normal);overflow-wrap:break-word;pointer-events:none;text-align:start;text-shadow:var(--textOutline,0 0 transparent),var(--textShadow,0 0 transparent);text-transform:var(--textTransform,"none")}.SxM0TO>*,.c9GqVL>*{pointer-events:auto}.SxM0TO li,.c9GqVL li{font-style:inherit;font-weight:inherit;letter-spacing:normal;line-height:inherit}.SxM0TO ol,.SxM0TO ul,.c9GqVL ol,.c9GqVL ul{letter-spacing:normal;line-height:normal;margin-inline-end:0;margin-inline-start:.5em}.SxM0TO:not(.YQcXTT) ol,.SxM0TO:not(.YQcXTT) ul,.c9GqVL:not(.YQcXTT) ol,.c9GqVL:not(.YQcXTT) ul{padding-inline-end:0;padding-inline-start:1.3em}.SxM0TO ul,.c9GqVL ul{list-style-type:disc}.SxM0TO ol,.c9GqVL ol{list-style-type:decimal}.SxM0TO ol ul,.SxM0TO ul ul,.c9GqVL ol ul,.c9GqVL ul ul{list-style-type:circle}.SxM0TO ol ol ul,.SxM0TO ol ul ul,.SxM0TO ul ol ul,.SxM0TO ul ul ul,.c9GqVL ol ol ul,.c9GqVL ol ul ul,.c9GqVL ul ol ul,.c9GqVL ul ul ul{list-style-type:square}.SxM0TO blockquote,.SxM0TO h1,.SxM0TO h2,.SxM0TO h3,.SxM0TO h4,.SxM0TO h5,.SxM0TO h6,.SxM0TO p,.c9GqVL blockquote,.c9GqVL h1,.c9GqVL h2,.c9GqVL h3,.c9GqVL h4,.c9GqVL h5,.c9GqVL h6,.c9GqVL p{margin-block:0;margin:0}.SxM0TO a,.c9GqVL a{color:inherit}.YQcXTT li{margin-inline-end:0;margin-inline-start:1.3em}.Vd6aQZ{overflow:hidden;padding:0;pointer-events:none;white-space:nowrap}.mHZSwn{display:none}.lvxhkV{bottom:0;left:0;position:absolute;right:0;top:0;width:100%}.QJjwEo{transform:translateY(-100%);transition:.2s ease-in}.kdBXfh{transition:.2s}.MP52zt{opacity:0;transition:.2s ease-in}.MP52zt.Bhu9m5{z-index:-1!important}.LVP8Wf{opacity:1;transition:.2s}.VrZrC0{height:auto}.VrZrC0,.cKxVkc{position:relative;width:100%}:host(:not(.device-mobile-optimized)) .vlM3HR,body:not(.device-mobile-optimized) .vlM3HR{margin-left:calc((100% - var(--site-width))/2);width:var(--site-width)}.AT7o0U[data-focuscycled=active]{outline:1px solid transparent}.AT7o0U[data-focuscycled=active]:not(:focus-within){outline:2px solid transparent;transition:outline .01s ease}.AT7o0U .vlM3HR{bottom:0;left:0;position:absolute;right:0;top:0}.HlRz5e{display:block;height:100%;width:100%}.HlRz5e img{max-width:var(--wix-img-max-width,100%)}.HlRz5e[data-animate-blur] img{filter:blur(9px);transition:filter .8s ease-in}.HlRz5e[data-animate-blur] img[data-load-done]{filter:none}.I5zqsT{display:block;height:100%;width:100%}.WzbAF8 .mpGTIt .O6KwRn{display:var(--item-display);height:var(--item-size);margin:var(--item-margin);width:var(--item-size)}.WzbAF8 .mpGTIt .O6KwRn:last-child{margin:0}.WzbAF8 .mpGTIt .O6KwRn .oRtuWN{display:block}.WzbAF8 .mpGTIt .O6KwRn .oRtuWN .YaS0jR{height:var(--item-size);width:var(--item-size)}.WzbAF8 .mpGTIt{height:100%;position:absolute;white-space:nowrap;width:100%}:host(.device-mobile-optimized) .WzbAF8 .mpGTIt,body.device-mobile-optimized .WzbAF8 .mpGTIt{white-space:normal}.big2ZD{display:grid;grid-template-columns:1fr;grid-template-rows:1fr;height:calc(100% - var(--wix-ads-height));left:0;margin-top:var(--wix-ads-height);position:fixed;top:0;width:100%}.SHHiV9,.big2ZD{pointer-events:none;z-index:var(--pinned-layer-in-container,var(--above-all-in-container))}
top of page
TMS-KV_FA-(1985x547).png

Agenda: Sept 20 Virtual Summit

14:00 THA

ลงทะเบียน และ รับประทานอาหารว่าง

15:00 THA

ชมการถ่ายทอดสดการประชุม

17:40 THA

ชั่วโมงแห่งความสนุก
1) ชมถ่ายทอดสด การแข่งขัน Youth Verification Challenge
2) ตอบปัญหา TMS Trivia

18:50 THA

จบงาน

Bangkok: Sept 21

09:30 THA

ต้อนรับแขกผู้มีเกียรติ
สุภิญญา กลางณรงค์, Cofact

Cofact ต้อนรับแขกผู้มีเกียรติร่วมงาน Trusted Media Summit

09:40 THA

ทำไมต้องมีสื่อที่สังคมเชื่อใจได้ในโลกที่ไม่น่าไว้ใจ Why trusted-media matters in a zero-trust world?
ดร.สมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์, สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาแห่งประเทศไทย

ปาฐกถาโดย ดร.สมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์ หัวข้อทำไมสื่อที่น่าเชื่อถือจำเป็นอย่างยิ่งในโลกที่คนไม่เชื่อถือซึ่งกันและกัน

09:55 THA

เทคโนโลยีกับการเข้าถึงวารสารศาสตร์แห่งความจริง Tech for Journalism: How to boost more accuracy?
ดร.พณชิต กิตติปัญญางาม, Thailand Tech Startup

ปาฐกถา โดย ดร.พณชิต กิตติปัญญางาม หัวข้อ เทคโนโลยีสำหรับงานข่าว เราจะเพิ่มความน่าเชื่อถือในการนำเสนอข่าวสารได้อย่างไร

10:10 THA

Lightning Talks เล่าเรื่องจุดประกาย ช่วงที่ 1
ธนกร วงษ์ปัญญา, The Standard
วงศ์พันธ์ อมรินทร์เทวา, 101.world

ชัยวัฒน์ จันทิมา, พะเยาทีวี

รศ.วิไลวรรณ จงวิไลเกษม, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

ผศ.ดร.ณภัทร เรืองนภากุล, มหาวิทยาลัยแม่โจ้

กฤตนัน ดิษฐบรรจง, The Mordernist

นำเสนอผลงาน หรือผลการศึกษาเกี่ยวกับความน่าเชื่อถือของสื่อ โดยกองบรรณาธิการ สำนักข่าว และนักวิชาการ

11:10 THA

Lightning Talks เล่าเรื่องจุดประกาย ช่วงที่ 2
พีรพล อนุตรโสตถิ์, สำนักข่าวไทย อสมท
อดิศักดิ์ ลิมปรุ่งพัฒนกิจ, เนชั่น กรุ๊ป (ไทยแลนด์)
ฐปณีย์ เอียดศรีไชย, The Reporters
โสภิต หวังวิวัฒนา, Thai PBS
ผศ.ดร.วลักษณ์กมล จ่างกมล, มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
รศ.พิจิตรา ศุภสวัสดิ์กุล, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

นำเสนอผลงาน หรือผลการศึกษาเกี่ยวกับความน่าเชื่อถือของสื่อ โดยกองบรรณาธิการ สำนักข่าว และนักวิชาการ

12:00 THA

ต้นทุนและทักษะในการนำเสนอข่าวที่น่าเชื่อถือ
กิตติ สิงหาปัด, ข่าว 3 มิติ
มณธิรา รุ่งจิรจิตรานนท์, AFP
พงษ์พิพัฒน์ บัญชานนท์, The Matter
ระวี ตะวันธรงค์, สมาคมผู้ผลิตข่าวออนไลน์ (SONP)
ผศ.ดร.เจษฎา ศาลาทอง, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

เสวนาในประเด็นต้นทุนและทักษะที่จำเป็นในกองบรรณาธิการเพื่อการนำเสนอข่าวที่น่าเชื่อถือ

13:40 THA

ความน่าเชื่อถือของสื่อในวิกฤตสังคมไทย ทบทวนและทางออก
นพปฎล รัตนพันธ์, สภาการสื่อมวลชนแห่งชาติ
วศินี พบูประภาพ, Workpoint Today
ธีรนัย จารุวัสตร์, สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย
ผศ.ดร.เอื้อจิต วิโรจน์ไตรรัตน์, กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์
กุลชาดา ชัยพิพัฒน์, Cofact

เสวนาในประเด็นความน่าเชื่อถือของสื่อในวิกฤติสังคมไทย วิเคราะห์และหาแนวทางร่วมกันว่าวงการสื่อจะปรับปรุงและพัฒนาด้านการสร้างความน่าเชื่อถือต่อไปอย่างไร

14:10 THA

การกำกับสื่อร่วมสมัย ควรเป็นเช่นไร
ศ.ดร.พิรงรอง รามสูต, กสทช.

ปาฐกถา หัวข้อการกำกับสื่อร่วมสมัย (สื่อออนไลน์ สื่อดิจิทัลรูปแบบต่างๆ) จะมีรูปแบบอย่างไร ใครที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการกำกับดูแลเนื้อหา โดย ศ.ดร.พิรงรอง รามสูต

14:25 THA

สรุปประเด็น ข้อมูลผิดปรกติ (Information Disorder) ในสังคมไทย
ญาณี รัชต์บริรักษ์, สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)
สติธร ธนานิธิโชติ, สถาบันพระปกเกล้า
ภัทรกร ทีปบุญรัตน์, สภาองค์กรของผู้บริโภค
รณพงศ์ คำนวณทิพย์, Media Oxygen

เวทีนำเสนอผลการศึกษา และประเด็นการรับรู้ข่าวลวง (Misinformation) และข้อมูลที่บิดเบือน (Information Disorder) ในสังคมไทยในรอบปีที่ผ่านมา ใน 3 หัวข้อหลัก ได้แก่ 1. ความรู้เท่าทันด้านสุขภาพ (Health Literacy) 2. อาชญากรรมไซเบอร์ (Cybercrime) 3. การบิดเบือนข้อมูลเพื่อหวังผลทางการเมือง (Political Disinformation)

15:05 THA

แถลงผลการสำรวจ ประเด็นความน่าเชื่อถือต่อสื่อ
สุภิญญา กลางณรงค์, Cofact

แถลงผลการสำรวจประเด็ยความน่าเชื่อถือต่อสื่อ จัดทำโดยเครือข่าย Cofact

15:30 THA

Voice of the Voiceless เสียงสะท้อนจากภาคสังคมในการหาความจริงร่วม
กมล หอมกลิ่นอีส, านโคแฟค
พริม มณีโชติ, Cofact

เวทีเปิดโอกาสให้ภาคประชาชน ภาคประชาสังคม และตัวแทนกลุ่มผู้ด้อยโอกาสแสดงความเห็น และเสนอแนวทางการสร้างสื่อที่น่าเชื่อถือ

15:55 THA

จบงาน
Emcee
ธนภณ เรามานะชัย, Google News Lab

พิธีกรระหว่างวัน

Speakers

ดร.สมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์.png
ดร.สมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์
สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาแห่งประเทศไทย, ประธาน

ดร.สมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์ ปัจจุบันดำรงตำแหน่งประธานสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI) เชี่ยวชาญด้ายุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศ นโยบายสื่อและโทรคมนาคม นิติเศรษฐศาสตร์ (Economic analysis of laws) นโยบายการค้าและการลงทุนระหว่างประเทศ และนโยบายการวิจัยและพัฒนา

ดร.พณชิต กิตติปัญญางาม.png
ดร.พณชิต กิตติปัญญางาม
Thailand Tech Startup, อดีตนายกสมาคม

ดร.พณชติ อดีตนายกสมาคม Thailand Tech Startup เป็นผู้เชี่ยวชาญดา้นนวัตกรรม และการพัฒนาธุรกิจด้านเทคโนโลยี มีประสบการณทั้งจากตา่งประเทศ ในประเทศ ภาครัฐ และ ภาคเอกชน มีประสบการณ์การทำงานในบริษัทมหาชน รวมถึงการเป็นที่ปรึกษาด้านการพัฒนาและการจัดการนวัตกรรม ใหก้บบริษัมหาชน หน่วยงานรัฐ และผู้ประกอบการทงั้สตาร์ทอัพ และวิสาหกิจขนาดใหญ่ ขนาดกลาง และ ขนาดย่อมให้สามารถวางแผนการตลาดในยุคดิจิทัล ควบคู่กับการพัฒนาธุรกิจ ผลิตภัณฑ์ และบริการ พร้อมกับช่วยเหลือนักลงทุน และเป็นที่ปรึกษาให้กับบริษัทขนาดเล็กเจริญเติบโตจนไดร้ับเงินลงทุน และรางวัลระดับ เช่น Horganice และ Washway

ธนกร วงษ์ปัญญา .png
ธนกร วงษ์ปัญญา
The Standard, บรรณาธิการ

ธนกร ปัจจุบันดำรงตำแหน่งบรรณาธิการข่าวในประเทศ เว็บไซต์ The Standard

วงศ์พันธ์ อมรินทร์เทวา.png
วงศ์พันธ์ อมรินทร์เทวา
101.world, บรรณาธิการ

วงศ์พันธ์ ปัจจุบันดำรงตำแหน่งบรรณาธิการ เว็บไซต์ 101.world ก่อนหน้านี้เคยดำรงตำแหน่งผู้สื่อข่าวต่างประเทศ สำนักข่าวไทย อสมท และผู้ค้นคว้าข้อมูลข่าว Nippon Television ประจำสำนักงานกรุงเทพฯ

ชัยวัฒน์ จันทิมา .png
ชัยวัฒน์ จันทิมา
พะเยาทีวี, บรรณาธิการ

อดีตคนสายโฆษณาและนักข่าวหนังสือพิมพ์ สู่บทบาทคนทำสื่อท้องถิ่นที่บ้านเกิดในจังหวัดพะเยา ก่อตั้งและบรรณาธิการหนังสือพิมพ์พะเยาจนได้รับรางวัลข่าวยอดเยี่ยม และผู้ประสานงานสถาบันปวงผญาพยาว (องค์กรสาธารณประโยชน์) เปิดเวทีสานเสวนาสื่อสารสาธารณะให้กลุ่มการเมืองที่เห็นต่าง (เสื้อสี)และภาคประชาชนได้พูดคุยกันจนนำไปสู่พะเยาโมเดล นำไปใช้ในระดับประเทศ ปัจจุบันเป็นผู้ก่อตั้งและบรรณาธิการสถานีโทรทัศน์ชุมชนพะเยาทีวีและอยู่ระหว่างพัฒนาต้นแบบโทรทัศน์ชุมชนร่วมกับ กสทช.

รศ.วิไลวรรณ จงวิไลเกษม.png
ผศ. วิไลวรรณ จงวิไลเกษม
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, อาจารย์ประจำคณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน

ดร.วิไลวรรณ จงวิไลเกษม ตำแหน่งทางวิชาการ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ความเชี่ยวชาญ ภูมิทัศน์และนิเวศสื่อด้านข่าว สื่อกับการขับเคลื่อนทางสังคมเพื่อลดทอนอคติและความเกลียดชังในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนใต้ การตรวจสอบข้อเท็จจริงในงานข่าว (Fact-Checking) การเล่าเรื่องด้วยเสียงในรูปแบบ Podcast ผู้ผ่านการฝึกอบรมโครงการ “วิทยากรหลักสูตรการพัฒนานักวิจัย” (Training for the trainers) (แม่ไก่) สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.)

ผศ.ดร. ณภัทร เรืองณภากุล.png
ผศ.ดร.ณภัทร เรืองนภากุล
มหาวิทยาลัยแม่โจ้ , อาจารย์ประจำคณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร

ผศ.ดร.ณภัทร ปัจจุบันดำรงตำแหน่งอาจารย์ประจำคณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มหาวิทยาลัยแม่โจ้

กฤตนัน ดิษฐบรรจง.png
กฤตนัน ดิษฐบรรจง
The Mordernist, บรรณาธิการบริหาร

กฤตินัน เป็น Content Creator ที่ชื่นชอบในการสัมภาษณ์ผู้คน และชอบเอาตัวเลขมาเล่าให้เข้าใจง่าย โดยเริ่มต้นจากการทำเพจส่องสื่อ จนได้เป็น บก.อำนวยการของเว็บไซต์ The Modernist และตอนนี้กำลังมองหาเส้นทางใหม่ๆ ที่ท้าทายกว่าเดิม

พีรพล อนุตรโสตถิ์.png
พีรพล อนุตรโสตถิ์
สำนักข่าวไทย อสมท, ผู้จัดการศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์

โย-พีรพล หรือ @YOWARE เริ่มงานผู้สื่อข่าวที่ สำนักข่าวไทย อสมท มาตั้งแต่ปี 2548 ร่วมกับประสบการณ์ทำสื่อด้านไอที เป็นที่มาของการสร้างสรรค์รายการโทรทัศน์ด้าน Fact-Checking "ชัวร์ก่อนแชร์" เมื่อปี 2558 ปัจจุบันเป็น ผู้จัดการศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ บมจ.อสมท

อดิศักดิ์ ลิมปรุ่งพัฒนกิจ.png
อดิศักดิ์ ลิมปรุ่งพัฒนกิจ
เนชั่น กรุ๊ป (ไทยแลนด์), รองประธานกรรมการบริหาร

อดิศักดิ์จบการศึกษาปริญญาตรีคณะพาณิชย์ศาสตร์และการบัญชี​ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
แต่ทำงานในวิชาชีพสื่อมวลชนมาโดยตลอด​ เริ่มตั้งแต่ปี ​พ.ศ.2525 นักข่าวหนังสือพิมพ์มาตุภูมิรายวัน​ จนในปีพ.ศ.2528 เป็นนักข่าวหนังสือพิมพ์​ The Nation และเคยเป็น"บรรณาธิการ" บริหารสื่อต่างๆ ในเนชั่นกรุ๊ปมาเกือบทุกสื่อ

ประสบการณ์ทำงานสื่อทั้งหมดอยู่ในช่วงการเปลี่ยนผ่านของเทคโนโลยี่สื่อ​ มีบทบาทและส่วนร่วมในการทรานส์ฟอร์ม
เนชั่นกรุ๊ป​จากสื่อสิ่งพิมพ์ไปสู่สื่อวิทยุในปี 2535, สถานีข่าว ​24 ชั่วโมง​ Nation Channel ในปี 2543​ คู่ขนานไปกับสื่อออนไลน์และ​ Social​ Media

ในปี​ พ.ศ.2560​ ลาออกจากเนชั่นกรุ๊ปที่มีความขัดแย้งระหว่างกลุ่มผู้ถือหุ้นเดิมที่นำโดย"สุทธิชัย​ หยุ่น" ผู้ร่วมก่อตั้งนสพ.The Nation กัยกลุ่มผู้ถือหุ้นใหม่"ฉาย​ บุนนาค" จนกระทั่ง​ต้นเดือน พ.ย.2563​ได้รับคำเชิญจากกลุ่มผู้ถือหุ้นใหม่ให้กลับเข้ามาร่วมแก้ปัญหาช่อง​ NationTV​22 ที่ในช่วงปี 2562-2563​ เกิดวิกฤตศรัทธาและความน่าเชื่อถือจากสังคมอย่างรุนแรง​

ฐปณีย์ เอียดศรีไชย.png
ฐปณีย์ เอียดศรีไชย
The Reporters, ผู้ก่อตั้ง

ฐปนีย์ เอียดศรีไชย ปัจจุบันเป็นผู้สื่อข่าว 3 มิติ สถานีโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 และผู้ก่อตั้งเว็บไซต์ The Reporters

โสภิต หวังวิวัฒนา.png
โสภิต หวังวิวัฒนา
Thai PBS, ผู้จัดการฝ่ายสื่อเสียง สำนักสื่อดิจิทัล

โสภิต ปัจจุบันดำรงตำแหน่งผู้จัดการฝ่ายสื่อเสียง สำนักสื่อดิจิทัล Thai PBS

ผศ.ดร.วลักษณ์กมล จ่างกมล.png
ผศ.ดร.วลักษณ์กมล จ่างกมล
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี, อาจารย์ประจำคณะวิทยาการสื่อสาร

ผศ.ดร.วลักษณ์กมล จ่างกมล ปัจจุบันดำรงตำแหน่งอาจารย์ประจำคณะวิทยาการสื่อสาร มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี ก่อนหน้านี้เคยเป็นผู้สื่อข่าวหนังสือพิมพ์ผู้จัดการรายวัน และ The Nation มีภูมิลําเนาและเติบโตในสังคมจังหวัดชายแดนภาคใต้ สั่งสมประสบการณ์การเรียน วิจัย และทํางานในพื้นที่เมืองหลวง ต่างประเทศ มีเป้าหมายการทํางานเพื่อหนุนเสริมการพัฒนาศักยภาพเยาวชนและชุมชนในพื้นที่ผ่านการเป็นอาจารย์ในคณะวิทยาการสื่อสาร มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี อีกทั้ง ยังมีความมุ่งหมายที่จะมีส่วนร่วมในการพัฒนาวิชาชีพการสื่อสารและทักษะการสื่อสารของพลเมืองและสังคมจังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยผ่านการวิจัยและการทํางานร่วมกับองค์กรด้านการสื่อสารในพื้นที่และระดับประเทศ

รศ.พิจิตรา ศุภสวัสดิ์กุล.png
รศ.พิจิตรา ศุภสวัสดิ์กุล
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, อาจารย์ประจำคณะนิเทศศาสตร์

รศ.พิจิตรา ศุภสวัสดิ์กุล ปัจจุบันดำรงตำแหน่งอาจารย์ประจำคณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

กิตติ สิงหาปัด.png
กิตติ สิงหาปัด
ข่าว 3 มิติ, ผู้ดำเนินรายการ

กิตติ สิงหาปัด ปัจจุบันดำรงตำแหน่งผู้ดำเนินรายการข่าว 3 มิติ สถานีโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3

มณธิรา รุ่งจิรจิตรานนท์.png
มณธิรา รุ่งจิรจิตรานนท์
AFP, ผู้ตรวจสอบข่าวลวง

มณธิรา รุ่งจิรจิตรานนท์ (ตั๊ก) เป็นนักข่าวตรวจสอบข้อเท็จจริงของสำนักข่าว AFP (Agence France Presse) ประจำประเทศไทยตั้งแต่ปี พ.ศ. 2562 ก่อนหน้านั้น เธอทำงานเกี่ยวกับสื่อสังคมออนไลน์และการตลาดดิจิตอลในฮ่องกง

เธอจบการศึกษาปริญญาตรีจากคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ ปริญญาโทสาขาสื่อสารมวลชนและวารศาสตร์ที่ Danish School of Journalism ประเทศเดนมาร์กและ City, University of London สหราชอาณาจักร

TMSNick Cheam.png
พงษ์พิพัฒน์ บัญชานนท์
The Matter, บรรณาธิการอาวุโส

พงษพิพัฒน์ ปัจจุบันดำรงตำแหน่งบรรณาธิการอาวุโส เว็บไซต์ The Matter

ระวี ตะวันธรงค์.png
ระวี ตะวันธรงค์
สมาคมผู้ผลิตข่าวออนไลน์ (SONP), นายกสมาคม

ระวี ปัจจุบันดำรงตำแหน่งนายกสมาคมผู้ผลิตข่าวออนไลน์ (SONP) บรรณาธิการบริการ Spring News และรับผิดชอบงานพัฒนาธุรกิจสื่อออนไลน์ในเครือ Nation Group

ผศ.ดร.เจษฎา ศาลาทอง.png
ผศ.ดร.เจษฎา ศาลาทอง
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, อาจารย์ประจำคณะนิเทศศาสตร์

อาจารย์ประจำภาควิชาการสื่อสารมวลชน บรรณาธิการวารสารนิเทศศาสตร์ อดีตประธานหลักสูตรหลักสูตรนิเทศศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาการจัดการการสื่อสารเชิงกลยุทธ์ (หลักสูตรนานาชาติ) MSCM คณะนิเทศศาสตร์ อดีตผู้ช่วยอธิการบดีด้านวิรัชกิจ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พิธีกร ผู้ประกาศข่าว นักวิเคราะห์ข่าว และนักจัดรายการวิทยุ

นพปฎล รัตนพันธ์.png
นพปฎล รัตนพันธ์
สภาการสื่อมวลชนแห่งชาติ , รองเลขาธิการ

นพปฎลทำงานที่หนังสือพิมพ์เดลินิวส์ ตั้งแต่ปี 2543 ตำแหน่งผู้สื่อข่าวตระเวน (อาชญากรรม) ผู้สื่อข่าวเฉพาะกิจ ผู้ช่วยหัวหน้าข่าวประจำวัน (หน้า1) หัวหน้าข่าวอาชญากรรม ปัจจุบัน ตำแหน่ง ผู้ช่วยบรรณาธิการบริหารและหัวหน้าข่าวอาชญากรรมและชุมชนเมือง รับผิดชอบบริหารงานใน กองบรรณาธิการหนังสือพิมพ์เดลินิวส์และเดลินิวส์ออนไลน์ และในฐานะองค์กรวิชาชีพทำหน้าที่ รองเลขาธิการสภาการสื่อมวลชนแห่งชาติ คนที่ 1 ปี2564-ปัจจุบัน ก่อนหน้านี้เคยเป็นกรรมการสมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย ปี 2553-2554 และกรรมการบริหารสมาคมผู้สื่อข่าวและช่างภาพอาชญากรรมแห่งประเทศไทย ปี 2555

สุภิญญา กลางณรงค์.png
สุภิญญา กลางณรงค์
Cofact, ผู้ร่วมก่อตั้ง

สุภิญญา ผู้ร่วมก่อตั้ง Cofact ประเทศไทย กรรมการนโยบาย สภาองค์กรของผู้บริโภค (สอบ.)
กรรมการสภาการสื่อมวลชนแห่งชาติ และอดีตคณะกรรมการกิจการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.)

วศินี พบูประภาพ.png
วศินี พบูประภาพ
Workpoint Today, ผู้สื่อข่าว

วศินี พบูประภาพ ปัจจุบันทำหน้าที่ผู้สื่อข่าว Workpoint Today และสมาชิกสมาพันธ์สื่อเพื่อประชาธิปไตย (DEM ALL)

ธีรนัย จารุวัสตร์.png
ธีรนัย จารุวัสตร์
สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย, อุปนายกฝ่ายสิทธิเสรีภาพและการปฎิรูปสื่อ

อดีตผู้สื่อข่าวและหัวหน้าข่าว "ข่าวสดภาคภาษาอังกฤษ" (Khaosod English) ปัจจุบันเป็นผู้สื่อข่าวพิเศษ สำนักข่าว "ประชาไทภาคภาษาอังกฤษ" (Prachatai English) และดำรงตำแหน่งอุปนายกฝ่ายสิทธิเสรีภาพและการปฏิรูปสื่อ สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย

ผศ.ดร.เอื้อจิต วิโรจน์ไตรรัตน์.png
ผศ.ดร.เอื้อจิต วิโรจน์ไตรรัตน์
กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ , ที่ปรึกษา Media Alert

ผศ.ดร.เอื้อจิต วิโรจน์ไตรรัตน์ ปัจจุบันดำรงตำแหน่งที่ปรึกษาโครงการ Media Alert กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ ที่ปรึกษา Cofact ประเทศไทย และรองประธานคณะทำงานคุ้มครองผู้บริโภค สภาการสื่อมวลชนแห่งชาติ อดีตเคยเป็นผู้ชำนาญการประจำคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ อาจารย์ สาขาวิชาการสื่อสารสื่อใหม่ คณะวิทยาการจัดการและสารสนเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา อาจารย์พิเศษ หลักสูตรมหาบัณฑิต สาขาสหวิทยาการเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง และกรรมการนโยบาย องค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย (Thai PBS)

กุลชาดา ชัยพิพัฒน์.png
กุลชาดา ชัยพิพัฒน์
Cofact, ที่ปรึกษา

กุลชาดา ชัยพิพัฒน์ ปัจจุบันดำรงตำแหน่งที่ปรึกษา Cofact ประเทศไทย อดีตผู้จัดการฝ่ายสิทธิเสรีภาพสื่อ สมาคมเครือข่ายสื่อมวลชนในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซีป้า (SEAPA)

ศ.ดร.พิรงรอง รามสูต.png
ศ.ดร.พิรงรอง รามสูต
กสทช. , กรรมการ

ศ.ดร.พิรงรอง รามสูต ปัจจุบันดำรงตำแหน่งคณะกรรมการกิจการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) และอาจารย์ประจำคณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ญาณี รัชต์บริรักษ์.png
ญาณี รัชต์บริรักษ์
สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.), รักษาการผู้อำนวยการสำนักสร้างเสริมระบบสื่อและสุขภาวะทางปัญญา

ญาณี รักษาการผู้อำนวยการสำนักสร้างเสริมระบบสื่อและสุขภาวะทางปัญญา สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) มีความความเชี่ยวชาญ การบริหารโครงการด้านการสร้างเสริมสุขภาพ นโยบายการสื่อสารสาธารณะและระบบสื่อ การตลาดและการสื่อสารสาธารณะเพื่อสังคม และการบริหารการตลาด

สติธร ธนานิธิโชติ.png
สติธร ธนานิธิโชติ
สถาบันพระปกเกล้า, ผู้อำนวยการ สำนักนวัตกรรมเพื่อประชาธิปไตย

สติธร ธนานิธิโชติ ปัจจุบันดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการ สำนักนวัตกรรมเพื่อประชาธิปไตย สถาบันพระปกเกล้า

ภัทรกร ทีปบุญรัตน์.png
ภัทรกร ทีปบุญรัตน์
สภาองค์กรของผู้บริโภค, หัวหน้างาน One Stop Service

อนุกรรมการด้านสินค้าและบริการ องค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคภาคประชาชน (คอบช.) ปี 2018-2020
ปัจจุบันดำรงตำแหน่งหัวหน้างานศูนย์บริการผู้บริโภคแบบเบ็ดเสร็จ ( One stop service) สภาองค์กรของผู้บริโภค จบการศึกษาระดับปริญญาตรี หลักสูตรนิติศาสตร์บัณฑิต มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช วุฒิบัตร หลักสูตรการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทตามพระราชบัญญัติการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท พศ.2522 จากกรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ กระทรวงยุติธรรม หลักสูตร อบรมการไกล่เกลี่ยและประนีประนอมยอมความ ข้อพิพาทเกี่ยวกับปัญหาผู้บริโภคและคดีพิพาทที่เกี่ยวกับผู้บริโภคตามพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พศ.2562 จากคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

รณพงศ์ คำนวณทิพย์.png
รณพงศ์ คำนวณทิพย์
Media Oxygen , ผู้ก่อตั้ง

รณพงศ์ คำนวณทิพย์ ผู้ก่อตั้งและกรรมการบริหาร บริษัท มีเดีย ออกซิเจน​ จำกัด รณพงศ์ เป็นผู้บริหารที่มีจุดยืนในการสร้างสรรค์สังคมที่น่าอยู่ การมีคุณภาพชีวิตที่ดี และการใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดและยั่งยืน และมีประสบการณ์การทำงานกับบริษัทชั้นนำของโลกในด้านการสร้างแบรนด์การพัฒนาธุรกิจและขยายธุรกิจทั้งในและต่างประเทศ เช่น Unilever, Nippon Lever ประเทศญีปุ่น Pepsi-Cola International (PEPSICO), Universal Music Group และ BEC World ในบทบาทผู้บุกเบิกขยายตลาดคอนเทนต์ละครไทยออกสู่สากลและแพลตฟอร์มดิจิทัลระดับโลก

กมล หอมกลิ่น.png
กมล หอมกลิ่น
อีสานโคแฟค,

กมล เป็นนักวิชาการ นักกิจกรรม และสื่อสารสาธารณะชุมชน ที่มีทักษะการทำงานโดยใช้เครื่องมือการสื่อสารทั้งสื่อหลัก (โทรทัศน์ วิทยุ หนังสือพิมพ์) และสื่อใหม่ (Social Media) เพื่อประโยชน์ในการพัฒนาชุมชน โดยใช้ทักษะ การเรียนรู้ การตั้งคำถาม และออกแบบการนำเสนอในหลากหลายรูปแบบเพื่อให้เกิดการสื่อสารที่จะเป็นการยกระดับการทำงานของชุมชนแต่ละแห่ง บนฐานความเชื่อที่ว่างานสื่อสารสามารถเสริมพลังชุมชนโดยการกระตุ้นให้คนในชุมชนเกิดความต้องการในการยกระดับคุณภาพชีวิตให้ดียิ่งขึ้น

พริม มณีโชติ .png
พริม มณีโชติ
Cofact, ผู้ประสานงาน

นักสิทธิมนุษยชนผู้ทำหน้าที่เป็นกระบวนกร พิธีกร นักเขียน และล่ามให้กับองค์กรต่างๆและภาคประชาสังคมในหลากหลายประเด็น ไม่ว่าจะเป็นประเด็นกฎหมาย แรงงาน การศึกษา และสิทธิเสรีภาพในการแสดงออก และเสรีภาพในการรวมกลุ่ม

ธนภณ เรามานะชัย.png
ธนภณ เรามานะชัย
Google News Lab, Thailand Teaching Fellow

ธนภณ เรามานะชัย (ไมค์) ผู้สอนโครงการ News Lab ของ Google ประจำประเทศไทย ทำหน้าที่ฝึกอบรมนักข่าว นักวิชาการ นักเรียน นักศึกษา ในประเด็นด้านการตรวจสอบข่าวลวง การใช้เครื่องมือดิจิทัลในการทำข่าว ค้นหาข้อมูลข่าว และการฝึกปฏิบัติงานด้านสื่อสารมวลชนในประเทศไทย ก่อนหน้านี้เขาเคยเป็นผู้ประกาศข่าว, ผู้สื่อข่าวสถานีโทรทัศน์ Voice TV และผู้สื่อข่าวอิสระให้กับสำนักข่าวต่างประเทศ ไมค์จบการศึกษาระดับปริญญาโท สาขา Multimedia Communications จาก Academy of Art University ซานฟรานซิสโก สหรัฐอเมริกา

bottom of page